Blogger นี้มีไว้ใช้สำหรับการเรียนวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จิตของคนเรานั้นเหมือนกับลิง


พระพุทธองค์ตรัสว่า จิตของคนเรานั้นเหมือนกับลิง
เราจึงเรียนรู้เรื่องของจิตใจของเราได้มากมายจากพฤติกรรมของลิง
ลิงนั้นเกลียดกะปิ

ถ้ากะปิถูกมือมันเมื่อไหร่มันจะถูนิ้วกับพื้นจนเลือดไหลเต็มมือจนกว่ากลิ่นกะปิจะหายในที่สุด จนกลายเป็นว่า ”กะปิ” ถึงจะร้ายก็ไม่ร้ายเท่า ”ความเกลียดกะปิ” ที่มือลิงเป็นแผลเหวอะหวะไม่ใช่เพราะกะปิ หากเป็นเพราะความจงเกลียดจงชังกะปิต่างหาก

สิ่งที่เราเกลียดนั้น บ่อยครั้งไม่น่ากลัวเท่ากับความเกลียดชังในจิตใจเรา ความเกลียดชังหรือพูดให้ถูกก็คือความรู้สึกอยากผลักไส ซึ่งรวมทั้งความโกรธและความกลัว จึงเป็นเจ้าตัวร้ายที่เราต้องระวังให้มากๆ แต่นั่นเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของความจริงเท่านั้น

นอกจากความอยากผลักไสแล้ว ความยึดติด เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องระวังไม่แพ้กัน
กลับมาที่ลิงจอมซนอีกที

ในอินเดีย ลิงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับชาวบ้าน เพราะชอบโขมยผลไม้ในสวน ชาวบ้านจึงคิดวิธีจับลิง โดยใช้กล่องไม้ซึ่งมีฝาด้านหนึ่งเจาะรูเล็กๆ พอให้ลิงสอดมือเข้าไปได้ ในกล่องมีถั่วซึ่งเป็นของโปรดของลิงวางไว้เป็นเหยื่อล่อ วันดีคืนดี ลิงมาที่สวนเห็นถั่วอยู่ในกล่องก็เอามือล้วงเข้าไปหยิบถั่ว แต่พอถอนมือออกมาก็ติดฝากล่อง เพราะกำมือของลิงนั้นใหญ่กว่าฝากล่องที่เจาะไว้ ลิงพยายามดึงมือเท่าไหร่ก็ไม่ออก พอชาวบ้านมาจับก็ปีนหนีขึ้นต้นไม้ไม่ได้เพราะ มีมือเปล่าอยู่ข้างเดียว สุดท้ายก็ถูกคนจับได้ ลิงหาได้เฉลียวใจไม่ว่า เพียงแค่มันคลายมือออกเท่านั้น มันก็เอาตัวรอดได้ แต่เพราะยึดถั่วไว้แน่น ไม่ยอมปล่อย จึงต้องเอาชีวิตเข้าแลก

มีหลายอย่างที่เราอยากได้ใฝ่ฝัน จึงถึงกับยึดไว้อย่างเหนียวแน่น เวลาประสบปัญหา เพียงแค่คลายสิ่งที่ติดยึดนั้นเสียบ้าง ปัญหาก็คลี่คลาย แต่เป็นเพราะเราไม่ยอมปล่อยจึงเกิดผลเสียตามมามากมาย ไม่คุ้มกับสิ่งที่ติดยึดจะชอบหรือพึงใจกับอะไรก็ตาม อย่าถึงกับยึดติดจนเหนียวแน่นเกินไป เพราะโอกาสที่หน้ามืดตามัวนั้นมีสูงจนหาทางออกไม่เจอ

ปัญหาทั้งหลายในชีวิตนั้น ถ้าเรารู้จักปล่อยวางบางสิ่งเสียบ้าง มันก็จะบรรเทาไปได้เยอะ
บ่อยครั้ง............................. การปล่อยวางไม่เพียงแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาเท่านั้น หากเป็นทางออกจากปัญหาเลยทีเดียว

ความจริง การอยากผลักไสอะไรสักอย่าง ก็เป็นการติดยึดอีกแบบหนึ่งนั่นเอง ทั้งๆ ที่ลิงพยายามถูกำจัดกลิ่นกะปิไปจากมือ ก็อดไม่ได้ที่จะดึงมือมาดมหากลิ่นกะปิซ้ำแล้วซ้ำเล่า รู้ทั้งรู้ว่ากลิ่นกะปินั้นเหม็น แต่ก็ดมมือไม่ยอมเลิกง่ายๆ ในทำนองเดียวกัน ไม่ว่าเราจะโกรธอะไรหรือเกลียดใคร ก็มักดึงสิ่งนั้นหรือคนนั้นเข้ามาในจิตใจ ให้ครุ่นคิดเสมอ ไม่ยอมปล่อย ไม่ยอมวางเสียที ทั้งๆที่ยิ่งคิดก็ยิ่งทุกข์

ปล่อยวางเสียเถิด แล้วใจเราจะเบาขึ้นเป็นกอง ความทุกข์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเพราะพลัดพราก จากสิ่งที่รัก หรือ ประสบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ที่มันบีบคั้นกดทับจิตใจเราไม่หยุดหย่อนเสียที ก็เป็นเพราะ เราไปยึดไป แบกมันเข้าไว้ ทั้งวันทั้งคืน

ในหลายกรณี ความทุกข์ก็ไม่ได้มาจากไหน หากมาจากการยึดติดไม่ยอมปล่อย ดังเจ้าลิงหวงถั่ว
  http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/005639.htm

จิตวิทยาการเรียนรู้ (2)




......จิตวิทยาการเรียนรู้
.....การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น

......พฤติกรรมการเรียนรู้
.....จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก

http://sayan202.blogspot.com/

My Heart Will Go On

แนะความคิดเพื่อการฝึกจิต


หันเหความคิดและจิตใจของท่านเข้าสู่ภายในตัวตน

ที่แท้จริง ฉัน... คือ ดวงวิญญาณ... เป็นจุดแห่งแสง

ดุจดวงดาวเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยพลัง ฉันอยู่ตรงกลาง 

หน้าผากระหว่างคิ้ว นี่คือ ตัวฉันที่แท้จริง

ร่างกายของฉัน คือเครื่องนุ่งห่ม สำหรับฉันผู้มีชีวิตใช้ 

แสดงบุคลิกลักษณะของฉันออกมา

เวลานี้ ฉันได้ตระหนักถึงลักษณะที่แท้จริงของตนเอง

ฉันได้เปิดล็อคประตูห้องขังออกมา ฉันรู้สึกเป็นอิสระ

เช่นเดียวกับนก ฉันสามารถโบยบิน ได้อีกครั้ง

บัดนี้ ธรรมชาติที่แท้จริงของฉันเริ่มปรากฏออกมา

เป็นธรรมชาติที่สงบ ในความสงบนั้นฉันรู้สึกว่า 

ฉันได้กลายเป็นความสงบ ฉัน...คือ ความสงบ 

ฉันรู้สึกว่า ในธรรมชาติที่เป็นแสงสว่าง 

ฉันได้กลายเป็นแสงสว่างนั้น ฉัน... คือ แสงสว่าง....

ฉันรู้สึกถึงธรรมชาติที่แท้จริงของตนเอง ธรรมชาติของ

ความรัก ฉันกลายเป็นความรักนั้น ฉัน... คือ ความรัก...

เวลานี้ ดวงวิญญาณมีอำนาจอย่างเต็มเปี่ยม ความเบา

สบายกลายเป็นธรรมชาติของฉัน ฉันไม่ใช่ทาสอีกต่อไป 

แต่เป็นนายเหนือร่างกายนี้ ฉันกระจายรัศมีที่สว่างไสวออกไป 
ประโยชน์และความหมายของการฝึกจิต
  • ทุกคนควรมีการฝึกฝนจิตใจเป็นกิจวัตรซึ่งเป็นยาแก้ความเครียดที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นวิธีการผ่อนคลายได้อย่างง่ายดาย
  • การฝึกจิตทำให้ท่านสร้างทัศนคติและตอบสนองชีวิตแบบใหม่ ท่านสามารถเข้าใจจิตใจของตนเองได้อย่างกระจ่าง
  • การฝึกจิตคือขบวนการฟื้นฟูชีวิต สร้างความพอใจ และใช้พรสวรรค์หรือความชำนาญพิเศษของตนเอง ในทางที่ดี
  • การฝึกจิต ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อได้รับสิ่งที่ดีงาม และมีผลลัพธ์ที่พอใจ
โดยการฝึกจิตวันละนิดทุก ๆ วัน ไม่นานจะกลายเป็นธรรมชาติ และนิสัยได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างความเพียรพยายามที่เข้มข้น 

ขั้นตอนการฝึกจิตพื้นฐาน:
  1. หาเวลาว่างสำหรับตนเองทุก ๆ เช้าและเย็น 10 หรือ 20 นาที
  2. หาสถานที่ ที่สงบเพื่อให้มีการผ่อนคลาย ใช้แสงไฟหรี ๆ และใช้เสียงเพลงเบา ๆ ช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะสม
  3. นั่งตัวตรงในท่าที่สบายๆบนพื้นหรือบนเก้าอี้
  4. ไม่หลับตา และไม่เปิดตาเกินไป มองไปยังจุดใดจุดหนึ่งข้างหน้า
  5. หันความสนใจของท่านจากการเห็นและการได้ยินเพื่อเข้าไปสู่ภายในตนเองอย่างช้า ๆ
  6. เฝ้าสังเกตการณ์ความคิดของท่านเอง
  7. ไม่ควรพยายามที่จะหยุดคิด เพียงแต่เป็นผู้สังเกตการณ์ ไม่วิจารณ์หรือขจัดความคิดออกไป เพียงแต่เฝ้าดู
  8. ค่อย ๆ ทำให้ความคิดช้าลง และแล้วท่านจะเริ่มรู้สึกสงบมากขึ้น
  9. สร้างความคิดเกี่ยวกับตนเอง ให้มีเพียงความคิดเดียว เช่น ฉันคือดวงวิญญาณที่สงบ
  10. นำความคิดนั้นไปสู่ฉากของจิตใจ จินตนาการว่าตนเองเต็มไปด้วยความสงบ เงียบ และนิ่ง
  11. อยู่ในความคิดนั้นให้นานเท่าที่ทำได้ อย่าได้ต่อสู้กับความคิดอื่น หรือความทรงจำที่อาจเข้ามารบกวน เพียงแต่เฝ้าดูมันผ่านไป และกลับมาสร้างความคิดของท่านอีกครั้ง ฉันคือดวงวิญญาณที่สงบ
  12. ยอมรับและพอใจในความคิดและความรู้สึกที่เป็นบวก ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากเพียงหนึ่งความคิด
  13. มั่นคงอยู่ในความรู้สึกเหล่านี้ซักครู่ จงระวังความคิดที่ไม่เกี่ยวข้อง
  14. สิ้นสุดการฝึกจิตของท่านโดยปิดตาของท่านซักครู่หนึ่ง และสร้างความสงบในจิตใจของท่านอย่างสมบูรณ์
ประโยชน์และความหมายของการฝึกจิต
  • ทุกคนควรมีการฝึกฝนจิตใจเป็นกิจวัตรซึ่งเป็นยาแก้ความเครียดที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นวิธีการผ่อนคลายได้อย่างง่ายดาย
  • การฝึกจิตทำให้ท่านสร้างทัศนคติและตอบสนองชีวิตแบบใหม่ ท่านสามารถเข้าใจจิตใจของตนเองได้อย่างกระจ่าง
  • การฝึกจิตคือขบวนการฟื้นฟูชีวิต สร้างความพอใจ และใช้พรสวรรค์หรือความชำนาญพิเศษของตนเอง ในทางที่ดี
  • การฝึกจิต ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อได้รับสิ่งที่ดีงาม และมีผลลัพธ์ที่พอใจ
โดยการฝึกจิตวันละนิดทุก ๆ วัน ไม่นานจะกลายเป็นธรรมชาติ และนิสัยได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างความเพียรพยายามที่เข้มข้น 

ขั้นตอนการฝึกจิตพื้นฐาน:
  1. หาเวลาว่างสำหรับตนเองทุก ๆ เช้าและเย็น 10 หรือ 20 นาที
  2. หาสถานที่ ที่สงบเพื่อให้มีการผ่อนคลาย ใช้แสงไฟหรี ๆ และใช้เสียงเพลงเบา ๆ ช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะสม
  3. นั่งตัวตรงในท่าที่สบายๆบนพื้นหรือบนเก้าอี้
  4. ไม่หลับตา และไม่เปิดตาเกินไป มองไปยังจุดใดจุดหนึ่งข้างหน้า
  5. หันความสนใจของท่านจากการเห็นและการได้ยินเพื่อเข้าไปสู่ภายในตนเองอย่างช้า ๆ
  6. เฝ้าสังเกตการณ์ความคิดของท่านเอง
  7. ไม่ควรพยายามที่จะหยุดคิด เพียงแต่เป็นผู้สังเกตการณ์ ไม่วิจารณ์หรือขจัดความคิดออกไป เพียงแต่เฝ้าดู
  8. ค่อย ๆ ทำให้ความคิดช้าลง และแล้วท่านจะเริ่มรู้สึกสงบมากขึ้น
  9. สร้างความคิดเกี่ยวกับตนเอง ให้มีเพียงความคิดเดียว เช่น ฉันคือดวงวิญญาณที่สงบ
  10. นำความคิดนั้นไปสู่ฉากของจิตใจ จินตนาการว่าตนเองเต็มไปด้วยความสงบ เงียบ และนิ่ง
  11. อยู่ในความคิดนั้นให้นานเท่าที่ทำได้ อย่าได้ต่อสู้กับความคิดอื่น หรือความทรงจำที่อาจเข้ามารบกวน เพียงแต่เฝ้าดูมันผ่านไป และกลับมาสร้างความคิดของท่านอีกครั้ง ฉันคือดวงวิญญาณที่สงบ
  12. ยอมรับและพอใจในความคิดและความรู้สึกที่เป็นบวก ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากเพียงหนึ่งความคิด
  13. มั่นคงอยู่ในความรู้สึกเหล่านี้ซักครู่ จงระวังความคิดที่ไม่เกี่ยวข้อง
  14. สิ้นสุดการฝึกจิตของท่านโดยปิดตาของท่านซักครู่หนึ่ง และสร้างความสงบในจิตใจของท่านอย่างสมบูรณ์
                            http://www.iamspiritual.com/chai/meditation.html

ยินดีต้อนรับเข้าสู่Blogของดิฉัน

Blog นี้เป็นBlog ส่วนตัวของดิฉัน ที่ใช้ประกอบในการเรียนรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน