Blogger นี้มีไว้ใช้สำหรับการเรียนวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

สถาบันที่เปิดสอนจิตวิทยา



คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะศิลปศาสตร์ เอกจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะมนุษยศาสตร์  สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา  มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะมนุษยศาสตร์  สาขาจิตวิทยา  มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะศึกษาศาสตร์ –ปัตตานี จิตวิทยาการปรึกษา สงขลานครินทร์
คณะครุศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ราชภัฏธนบุรี
คณะครุศาสตร์ สาขาจิตวิทยา วไลยอลงกรณ์
วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ สาขาจิตวิทยา
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ทักษิณ
คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.พายัพ
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการแนะแนว ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.เชียงใหม่ 


สาขาต่างๆของจิตวิทยา

สาขาต่างๆของจิตวิทยา
ปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบแล้วว่า จิตวิทยาเป็นศาสตร์แขนงใหญ่แขนงหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมนั้นจิตวิทยามีรากฐานมาจากวิชาปรัชญา ที่ศึกษาจิตด้วยการสังเกตและสำรวจประสบการณ์ด้วยตนเอง ในเมื่อเป็นศาสตร์ที่แยกมาเป็นอิสระแล้ว แนวทางในการศึกษาศาสตร์นี้จึงจำแนกออกเป็นสาขาย่อยหลายสาขา ดังเช่นสาขาสำคัญๆต่อไปนี้
1.จิตวิทยาทั่วไป(General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์เบื้องต้นของพฤติกรรมเป็นส่วนที่ว่าด้วยหลักการทั่วไปทางจิตวิทยา

2.จิตวิทยาการศึกษา(Educational Psychology) ศึกษาพัฒนาการเรียนการสอนและวิธีการส่งเสริมประสิทธิภาพของการเรียนรู้โดยนำหลักทางจิตวิทยามาใช้

3.จิตวิทยาพัฒนาการ(Developmental Psychology) ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งถึงวัยต่างๆ โดยเน้นทำความเข้าใจการพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม

4.จิตวิทยาสังคม(Social Psychology) เป็นสาขาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของบุคคลที่มีผลกระทบกับสังคมไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม

5.จิตวิทยาอุตสาหกรรม(Industrial Psychology) เป็นสาขาที่ค้นหาวิธีการและหลักการของจิตวิทยาที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานของธุรกิจต่างๆ เช่น ในอุตสาหกรรมโรงงาน ธุรกิจการบริการต่างๆเป็นต้น ตลอดจนยังเป็นการศึกษาผลของสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆที่มีผลต่อการทำงานด้วย

6.จิตวิทยาการทดลอง(Experimental Psychology) ศึกษาพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์โดยเน้นใช้วิธีการทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือเป็นกระบวนการทดลองในลักษณะอื่นๆเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุและผลของพฤติกรรมได้อย่างเชื่อมั่นมากขึ้น เช่น การทดลองเรื่องการเรียนรู้การคล้อยตาม กาารอบรมเลี้ยงดูเป็นต้น

7.จิตวิทยาอปกติ(Abnormal Psychology) เป็นการศึกษาสาเหตุ การป้องกัน แก้ไขพฤติกรรมที่มีความผิดปกติของมนุษย์ทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย

8.จิตวิทยาคลินิก(Clinical Psychology) เป็นการศึกษาถึงการนำจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคและการให้บริการบำบัดรักษามนุษย์ที่มีปัญหาทางจิต เช่น ปัญหาการก่ออาชญากรรม การติดยาเสพติดเป็นต้น

เรื่องน่ารู้ชาวจิตวิทยาโรคพิลึก ไม่สยอง ไม่ประหลาด แค่ดูไม่ฉลาดเท่านั้นเอง

 Academic Underachievement  เป็นลักษณะอาการแปลกๆ ที่เกิดกับเด็กที่มีระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.)ปกติ แต่ผลการเรียนกลับไม่ได้ผลดีตามระดับสมองเลย เกรดต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ โดยวัดจากระดับผลการเรียนทางวิชาการเท่านั้น        academic หมายถึง วิชาการ   underachievement   คือ ผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าที่ควร   เป็นลักษณะที่เห็นได้ในเด็กที่อาจที่ทำกิจกรรมเก่ง ตอบคำถามในห้องได้ หัวไว เรียนรู้เร็ว เราเองก็มองว่าเจ้าเพื่อนคนนี้ ต้องเรียนเก่งแน่ๆ เลย แต่ผลกลับออกมาว่า ไม่ยักเรียนเก่งแฮะ คนที่มีลักษณะของ Academic Underachievement นี้ บางคนก็กังวลใจมากที่ผลการเรียนไม่ดีเท่าไหร่ แต่ส่วนใหญ่กลับเป็นกลุ่มที่เฉยชา ไม่สนใจการเรียน หรือไม่สนใจว่าผลการเรียนจะเป็นอย่างไร 
ลักษณะสำคัญที่ปรากฎ เช่น 1. ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ล่าช้ากว่ากำหนด ไม่สนใจงาน ครูไม่ทวง ตัวเองก็ไม่ทำ
 2. ระดับผลการเรียนต่ำกว่าระดับเชาวน์ปัญญา
 3. เรียนไม่เก่ง แต่ทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ดี มีความรู้อื่นๆ นอกเหนือตำราเรียนดี
 4. มีเรื่องวิตกกังวล ตึงเครียดมาก จากเรื่องการเรียนหรือเรื่องอื่นๆ จนขัดขวางความสามารถที่แท้จริงของเด็ก
 5. ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ทำให้ไม่รู้จักพัฒนาตนเอง (ไม่รู้จะทำให้สำเร็จไปทำไม)
 6. ระบบการเรียน วิธีการสอน สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนไม่เหมาะกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
        สาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดลักษณะของโรคนี้ ส่วนมากจะเป็นสาเหตุทางจิตใจที่เกิดได้จากทั้งปัจจัยภายนอก อย่างเรื่อง

(1) กดดันในครอบครัว พ่อ แม่เป็นไม่สนใจหนังสือหนังหาอยู่แล้ว อยากให้ลูกรีบๆ เรียนให้จบจะได้ออกมาช่วยทำมาหากิน พ่อแม่เองก็ไม่เห็นคุณค่าของการเรียน แล้วลูกจะไปสนใจเรียนได้อย่างไร
(2)ครู ครูส่วนหนึ่งแนวโน้มว่าจะสนใจคนเรียนเก่งมากกว่าเรียนไม่เก่ง เลยยิ่งไม่ได้รับความสนใจจากครู
 (3)เพื่อน เด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มจะทำตามกลุ่ม ถ้าเพื่อนเป็นกลุ่มไม่เรียน ก็ไม่เรียนตามเพื่อนด้วย และ
(4)ปัจจัยในใจตนเอง อย่าง นิสัยเอื่อยเฉื่อย ไม่สนใจอะไรรอบตัว หรือกลัวถูกคาดหวังและความผิดพลาด จากวันหนึ่งที่เรียนเก่งแต่จู่ๆ ก็กลัวพลาด กลัวพ่อแม่จะว่า กดดันตัวเองมากจนเป็นปัญหาทางจิตใจและส่งผลต่อการเรียนในที่สุด

ยิ่ง ถ้าเป็นเด็กอัจฉริยะ อาจรำคาญใจที่มาเรียนในชั้นที่ไม่ใช่ระดับความสามารถตนเอง อย่างอายุจริงเท่า ม.1 สมองเท่าม.4 แต่เรียนม.2 ตัวเองก็เบื่อ เลยพาลไม่ตั้งใจเรียนไปซะเลย มีงานก็ไม่ส่ง ครูสอนก็ไม่ฟัง อาจไม่มาสอบด้วยซ้ำ เลยทำให้ไม่มีคะแนนและผลการเรียนก็ออกมาไม่ดี หรืออาจเข้ากับเพื่อนต่างวัยไม่ได้ เป็นต้น รวมๆ แล้วสาเหตุที่จะทำให้เกิดลักษณะอาการของโรคนี้เองก็ยังคาบเกี่ยวกับสาเหตุ ของโรคอีกหลายๆ โรคเลยค่ะ

 ลักษณะ อาการแบบนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดง่ายๆ นะคะ ส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นปัจจัยที่เกิดจากความกดดันคะ เรียกว่า เป็นอาการที่เกิดจากจิตใจมากกว่าพฤติกรรม ดังนั้น ถ้าใครขี้เกียจเฉยๆ เกียจคร้านไปตามเรื่องตามราวด้วยตนเอง ก็ไม่ได้เป็นโรคนี้นะ แล้วโดยส่วนมากแล้วจะมีแนวโน้มว่าจะเกิดกับเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้าน วิชาการ กลุ่ม Gifted มากกว่าเด็กทั่วไปค่ะ แล้วอาจถูกวินิจฉัยร่วมกับอาการสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ หรือปัญหาทางอารมณ์และสังคมก็ได้ แต่ต้องสังเกตและพิจารณาควบคู่ไปกับพฤติกรรมที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย คือ เคยมีผลการเรียนดีอยู่ แล้วค่อยๆ ผลการเรียนต่ำลงเรื่อยๆ ทั้งที่ดูไม่มีปัญหาอะไรเป็นเกรดพรวดพราด เป็นครั้งคราว แล้วกลับมาเกรดเท่าเดิมก็ไม่ใช่ค่ะ

        ที่สำคัญกลุ่ม อาการแบบนี้ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์หรือนักจิตวิทยาเท่านั้นนะคะ  ไปคิดเอง เออเอง ว่าตัวเองมีอาการ Academic Underachievement ไม่ได้นะ จ๊ะ และไม่ว่าจะเรียนเก่งหรือไม่ก็ตาม หรือไม่ว่าจะเกิดจากเหตุผลอะไร เราก็ไม่ควรไปตราหน้าเพื่อนคนไหนว่า "แกมันเรียนไม่เก่ง แกต้องเป็นโรคนี้แน่ๆ" การถูกตราหน้าจากคนอื่นไม่เป็นผลดีกับใครเลย แม้จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงมากๆ ก็ตาม รังแต่จะทำให้เสียความมั่นใจในตนเองมากขึ้นด้วยซ้ำ 

   ที่นำมาให้อ่านกัน ก็ถือว่าเป็นความรู้ค่ะ เพราะ จริงๆ คนเราอาจจะเจอกับเรื่องกดดันอะไรในชีวิตจนทำให้คิดและเป็นอย่างที่ไม่ควรแบบ นี้ เช่น ตนเองคิดอยู่เสมอว่า ทำไมต้องพยายาม ทำอะไรทั้งที่ไม่มันไม่มีอะไรดีขึ้น หรือถ้าได้คะแนนดี ก็จะคิดว่ามันบังเอิญ ฟลุ๊กมากกว่า  คือ ถ้าเราคิดกับตนเองแบบนี้แต่แรก ผลของมันก็คือการไม่เชื่อว่าตนเองจะทำอะไรได้สำเร็จอยู่แล้วค่ะ  ที่เขาเรียกกันว่า การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ หรือ low self-esteem   และมันก็อาจเป็นลักษณะหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำนี่ แหละค่ะ พี่เกียรติไม่อยากให้ใครมีความคิดในใจแบบไม่เชื่อกระทั้งใจตนเองแบบนี้นะ

บางทีเรื่องจิตใจก็เข้าใจยากนะคะ บางทีสมองดีก็จริง
แต่หัวใจหม่นหมอง ก็ไม่ทำให้เรามีความสุขหรอกเนอะ

เพราะฉะนั้นจงมั่นใจในสมองและสองมือของตนเอง และทำสิ่งที่ดีด้วยความตั้งใจกันเถอะ! 

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคจิตหลงผิด รู้ไว้ดูแลคนใกล้ตัว

โรคจิตหลงผิด


          หากพูดถึงคำว่า "โรคจิต" แล้ว หลายคนอาจนึกภาพคนโรคจิตว่า ต้องมีอาการสับสน พูดจาไม่รู้เรื่อง วกไปวนมา จำได้บ้างไม่ได้บ้าง หรืออาจจะอาละวาดคลุ้มคลั่งอะไรก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว "โรคจิต" มีด้วยกันหลายชนิด และแสดงอาการแตกต่างกันออกไป 

          อย่างเช่นที่เราเคยได้ยินข่าวคราวของคนที่เข้าใจว่า มีแมลงจำนวนมากไต่ออกมาจากผิวหนัง ทั้งที่ตรวจแล้วไม่พบ นี่ก็เป็นหนึ่งในอาการทางจิตเวชที่เรียกว่า "โรคจิตหลงผิด" เช่นกัน 

          วันนี้กระปุกดอทคอม จึงชวนมาทำความรู้จักกับ "โรคจิตหลงผิด" กันให้มากขึ้น เพราะเป็นอาการทางจิตเวชที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน และคนใกล้ตัวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยรักษาผู้ป่วยโรคนี้ด้วย

โรคจิตหลงผิด และอาการ

          โรคจิตหลงผิด หรือ Delusional Disorder เดิมเรียกว่า โรคหวาดระแวง (Paranoia หรือ Paranoid disorder) แต่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรคจิตหลงผิด" เพราะโรคนี้ไม่ได้มีแค่แสดงอาการหวาดระแวงเพียงอย่างเดียว แต่โรคจิตหลงผิดเป็นอาการที่ผู้ป่วยจะหลงผิดเป็นอาการเด่น โดยปักใจเชื่อบางสิ่งบางอย่างอย่างฝังแน่น โดยไม่ว่าจะมีหลักฐาน เหตุผล หรือคำชี้แจงใด ๆ ที่น่าเชื่อถือมาโต้แย้ง ผู้ป่วยก็ยังจะคงฝังใจเชื่อสิ่งนั้นอยู่ 

          โดยเรื่องที่หลงผิดนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง เช่น เชื่อว่าถูกคนกลั่นแกล้ง ปองร้าย จนไม่กล้าออกไปไหน หรือเข้าใจว่าคน ๆ นั้นไม่ชอบหน้า ทั้งที่ในความเป็นจริงไม่มีเรื่องเช่นนี้ หรืออาจเข้าใจว่าตัวเองกลับชาติมาเกิด ตัวเองเป็นดาราคนนั้น เจ้าหญิง เจ้าชายบ้างก็มี นอกจากนี้ ยังอาจมีความเข้าใจผิดที่แปลก ๆ เช่น เชื่อว่ามีคลื่นไฟฟ้าส่งมาจากคนบางคนเพื่อทำร้ายให้ตนเองป่วย หรือเชื่อว่าตนเองท้องได้หลายเดือนทั้ง ๆ ที่ท้องไม่ได้โตขึ้นกว่าปกติ เป็นต้น

          อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคจิตหลงผิดนี้ ส่วนใหญ่จะมีการพูดจาท่าทางปกติ ไม่มีพฤติกรรมแปลก ๆ แสดงออกชัด เพราะยังสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างปกติ จึงยากต่อการสังเกต แต่บางครั้งอาจมีพฤติกรรมไม่เข้าสังคม หูแว่ว ระแวง ไม่เป็นมิตร และอาจมีพฤติกรรมรุนแรงต่อความเชื่อของตัวเองด้วย

          ทั้งนี้ โรคจิตหลงผิด มักเกิดกับช่วงวัยกลางคน จนถึงวัยสูงอายุ  แต่ก็พบได้ในวัยรุ่นตอนปลายเช่นกัน โดยรวมแล้ว โรคจิตหลงผิด เป็นโรคที่พบได้น้อย คือประมาณ 0.025-0.03 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเท่านั้น แต่มักป่วยเป็นเรื้อรัง คือหายแล้วแต่ยังมีอาการอยู่บ้างเป็นระยะ ๆ และมีจำนวนหนึ่งที่หายขาด

ประเภทของ โรคจิตหลงผิด

          โรคจิตหลงผิด สามารถแบ่งจำแนกได้อีกหลายประเภทคือ

           1. Erotomanic type หลงผิดว่าบุคคลอื่นมาหลงรักตนเอง หรือเป็นคู่รักของตัวเอง โดยบุคคลนั้นมักเป็นผู้ที่มีความสำคัญ หรือมีชื่อเสียง ผู้ป่วยอาจเก็บอาการหลงผิดนี้ไว้ เป็นความลับหรืออาจแสดงออกต่อสาธารณชน ขึ้นกับบุคลิกภาพเดิมของผู้ป่วย บางรายก็ไปก่อกวนหรือทำให้คนอื่นหลงเชื่อก็มี

           2.Grandiose type เชื่อว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น มีความหยั่งรู้พิเศษ มีอำนาจ มีเงินทองมากมาย หรือหลงผิดว่าตนเองเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับบุคคลสำคัญ เชื้อพระวงศ์ พระอรหันต์

           3.Jealous type หลงผิดว่าคู่ครองของตนนอกใจ อาการนี้พบได้บ่อยและบางครั้งอาจแยกได้ยาก ว่าเป็นเรื่องจริงหรืออาการหลงผิด

           4. Persecutory type ระแวงว่าตนเองถูกกลั่นแกล้ง สะกดรอย หรือวางยาพิษ หมายเอาชีวิต ซึ่ง เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด

           5.Somatic type หลงผิดเกี่ยวกับร่างกายของตนเอง เช่น หลงผิดว่าบางส่วนของร่างกายผิดรูปร่าง น่าเกลียด ไม่สวยไม่หล่อ มีกลิ่นตัว หรืออวัยวะบางอวัยวะไม่ทำงาน เป็นโรคบางโรค ซึ่งหนึ่งในโรคจิตหลงผิด ประเภท Somatic type ที่ปรากฎเป็นข่าวบ่อยในช่วงนี้ คือ Delusions of parasitosis หรือ โรคจิตหลงผิดว่ามีปรสิตที่ผิวหนัง โดยผู้ป่วยจะรู้สึกไปเองว่ามีแมลงผุดไชออกมาตามผิวหนัง แล้วไปแกะเกาจนเป็นตุ่มเป็นแผล แม้แพทย์จะตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติ แต่ผู้ป่วยก็ยังคงเชื่อเช่นนั้น และไม่ยอมรับว่าตัวเองผิดปกติทางจิต

           6.Mixed Type: มีอาการหลงผิดมากกว่าหนึ่งอาการข้างต้น และไม่มีอาการใดโดดเด่น 

สาเหตุของโรคจิตหลงผิด

          การวินิจฉัยสาเหตุของโรคจิตหลงผิดยังไม่แน่ชัด เนื่องจากผู้ป่วยโรคหลงผิดมักไม่ค่อยไปพบแพทย์ ทำให้ได้รับการวินิจฉัยเป็นส่วนน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่มีอยู่จริง ส่วนผู้ที่มาพบแพทย์ ก็มักเป็นผู้ป่วยที่หลงผิดทางร่ายกายเสียมากกว่า แต่ก็ยังพอสรุปสาเหตุที่น่าจะทำให้เกิดโรคจิตหลงผิดได้คือ

           1. ปัจจัยด้านจิตใจ

          พบว่าคนที่ป่วยเป็นโรคจิตหลงผิด เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูในช่วงวัยเด็ก ในลักษณะที่ทำให้ขาดความไว้วางใจต่อโลกภายนอก

           2.ปัจจัยด้านสังคม 

          มักพบโรคนี้ในกลุ่มผู้อพยพ หรือกลุ่มที่ต้องพบกับสภาวะต่าง ๆ ที่มีความเครียดสูง และชนชั้นที่มีเศรษฐฐานะต่ำ

           3.ปัจจัยด้านชีวภาพ 

          เกิดจากสารสื่อประสาทในสมอง หรือ สารโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ได้ฟัง มีมากเกินไป ทำให้ไม่สมดุล ซึ่งจะเกิดอาการหูแว่ว ตีความหมายผิด ๆ คิดว่าคนจะทำร้ายตัวเอง อย่างเช่น คนที่เสพยาบ้ามาก ๆ ก็จะมีสารโดปามีนมาก และมักมีอาการหวาดระแวงกลัวคนจะมาฆ่า มาทำร้าย

การวินิจฉัยแยกโรค

          เนื่องจากอาการหลงผิด เกิดได้จากสาเหตุหลาย ๆ อย่าง เช่น โรคบางอย่างอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหลงผิด คล้ายกับโรคจิตหลงผิด หรือผู้ป่วยที่มีอารมณ์แปรปรวนก็อาจมีอาการหลงผิดร่วมด้วย ทั้งที่ไม่ได้เป็นโรคจิตหลงผิดก็ได้ ดังนั้นจึงต้องให้แพทย์วินิจฉัยว่า ป่วยเป็นโรคจิตหลงผิดหรือไม่ หรืออาจจะเป็นแค่เพียงอาการหวาดระแวง วิตกกังวลธรรมดา ๆ

การรักษา โรคจิตหลงผิด

          การรักษาจะเน้นให้ผู้ป่วยปรับตัวอยู่ในสังคมได้ พร้อม ๆ กับการให้ยารักษาโรคจิต ซึ่งต้องทานต่อเนื่อง อาจจะ 6 เดือน หรือ 1 ปี จนกว่าอาการจะดีขึ้น และแพทย์จะค่อย ๆ ลดยาลงไปเรื่อย ๆ  แต่หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง หรือทำอันตรายต่อผู้อื่น ก็ควรจะให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาล

          อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นอาการป่วยทางจิตเวช ดังนั้น ครอบครัวบำบัด (Family Therapy) จึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคนี้ได้ โดยคนใกล้ตัวต้องรับฟังผู้ป่วย ไม่โต้แย้งสิ่งที่ผู้ป่วยคิดว่าเป็นจริง แต่ก็ไม่เข้าข้าง หรือสนับสนุนความคิดหลงผิดนั้นด้วย เพื่อให้ครอบครัวยอมรับผู้ป่วยได้ และผู้ป่วยก็มีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น

          แต่หากเห็นคนใกล้ตัวมีท่าทาง การพูดจาแปลก ๆ ไม่เหมือนเดิม และมีอาการเข้าข่ายข้างต้น ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า เขาเป็นโรคจิต ต้องค่อย ๆ พูดอ้อม ๆ ชวนให้ไปพบจิตแพทย์ โดยอาจพูดทำนองว่า หากมีปัญหากลุ้มใจให้ลองไปปรึกษาจิตแพทย์ดู อย่าบอกตรง ๆ ว่าเขาเป็นโรคจิต เป็นบ้า เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่อต้านแน่นอน ซึ่งทั้งที่จริงแล้ว บางคนอาจเป็นเพียงแค่วิตกกังวลธรรมดาเท่านั้น

          สำหรับครอบครัวของผู้ป่วยอาการทางจิตนั้น ลองประยุกต์วิธีการดูแลผู้ป่วยด้วยการใช้ความคิดเชิงบวก ตามคำแนะนำของ นพ.จอม ชุมช่วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ผู้ก่อตั้งมีรักคลินิก Merak Clinic คลินิกเฉพาะทางจิตเวชอย่างครบวงจรสำหรับเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว ที่เคยพูดไว้ในงาน Ignite Thailand  ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทย ว่า ครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่ ควรสร้างพลังบวกกับให้ลูก โดยคนใกล้ตัวต้องคิดบวกเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน แล้วที่สำคัญคือต้องรับฟังเขาอย่างมีสติ จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

          เช่นนั้นแล้ว ครอบครัว จึงมีส่วนสำคัญต่อการรักษาอาการผิดปกติทางจิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ดังนั้น หากพบว่าพฤติกรรมของคนใกล้ชิดผิดปกติ เปลี่ยนแปลงไป ควรแนะนำให้รีบไปพบจิตแพทย์ เพราะโรคทางจิตเวชนี้ยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ ยิ่งเกิดผลดีที่สุด 

โรคจิตคืออะไร? มีอาการอย่างไร?


โรคจิตคืออะไร? มีอาการอย่างไร?

“โรคจิต” คือการเจ็บป่วยทางจิตใจแบบหนึ่ง ความเจ็บป่วยทางจิตใจนั้น มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น เกิดจากความผิดปกติของความคิด ความจำ เกิดจากความผิดปกติของอารมณ์ หรือเกิดจากความผิดปกติของพฤติกรรม
“โรคจิต” เป็นโรคของ “ความคิดที่ผิดปกติ” ความผิดปกติของความ คิด ทำให้ผู้ป่วยมีความเชื่อ มีพฤติกรรม มีการกระทำ ที่ผิดไปจากคนปกติทั่วๆ ไป และความเชื่อนี้ ไม่สามารถอธิบายได้ตามหลักของความจริง หรือตามหลักของความเชื่อที่มีอยู่ในสังคมนั้นๆได้ แต่ผู้ป่วยก็เชื่ออย่างสนิทใจ กับความเชื่อของเขา กับเรื่องราวที่เกิดกับตัวเขา เราเรียกอาการแบบนี้ หรือ อาการประเภทนี้ ว่า การหลงผิด หรือ “Delusion” หรือ การเชื่ออย่างผิดๆ และเชื่ออย่างฝังแน่น
ตัวอย่าง เช่น หญิงสาวรายหนึ่งหลังจากอกหักจากชายคนรัก เธอก็ได้ลาออกจากบริษัทที่ทำงานอยู่เดิม เพราะไม่ต้องการเจอหน้าผู้ชายหลอกลวงอีกต่อไป เธอไปสมัครงานที่บริษัทแห่งใหม่ แล้วเธอก็พบว่าพนักงานบริษัทแห่งใหม่นี้ “เป็นเครือข่ายของผู้ชายคนที่เคยหักอกเธอ” ทั้งสิ้น ทุกคนทำงานตามแผนของผู้ชายคนนั้น เพื่อที่จะ “จัดการเธอ” ให้พ้นๆไป ในที่สุดเธอก็ต้องปฏิเสธงานของบริษัทแห่งใหม่นี้
และเมื่อเธอไปสมัครงานที่บริษัทอีกแห่งหนึ่ง แล้วเธอก็พบกับเหตุการณ์แบบเเดิมอีก ผู้ชายคนนั้นได้ยึดครองบริษัทแห่งนี้ไว้อีกแล้วเช่นกัน เธอรู้สึกได้ทันทีว่าพนักงานทุกคนของบริษัทแห่งนี้ ล้วนรับคำสั่งจากผู้ชายคนนั้นเพื่อจัด การกับเธอ เช่นเดียวกับบริษัทที่ผ่านมา ความเชื่อว่า ผู้ชายคนนั้นกำลังวาง แผนเล่นงานเธอ ทำให้เธอไม่สามารถไปสมัครทำงานที่ไหนได้อีก เพราะเธอรู้สึกว่าชีวิตของเธอไม่มีความปลอดภัย มีเพื่อนพยายามที่จะอธิบายถึง “ความไม่เป็นเหตุเป็นผล” ของเรื่องที่เกิดขึ้นกับเธอ เพราะความเป็นไปได้ในการสั่งการให้คนรอบๆข้างทุกคนเล่นงานเธอโดยผู้ชายคนนั้น มันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย แต่หญิงสาวก็ยืนยันว่า ทุกสิ่งที่เกิดกับเธอเป็นเรื่องจริง (ตามความเชื่อของเธอ) เธอ “เชื่ออย่างหลงผิด และ เชื่ออย่างฝังแน่น” หรือ “False Belief and Fix”
อีกกลุ่มอาการของ “โรคจิต” คือ อาการ หูแว่ว (Auditory Hallucina tion) และ อาการเห็นภาพหลอน (Visual Hallucination)
อาการหูแว่ว เป็นอาการที่เกิดกับผู้ป่วยโรคจิตได้บ่อย ผู้ป่วยจะได้ยินเสียงพูดโดยที่ไม่มีที่มาของเสียงพูด เนื้อหาอาจเป็นเสียงสั่ง เสียงเตือน เสียงตำหนิ นินทา ด่าทอ และบางครั้งผู้ป่วยอาจมีการโต้ตอบกับเสียงเหล่านี้ด้วย เราจึงพบบ่อยที่ผู้ป่วยโรคจิตพูดคุยคนเดียว คล้ายๆกับกำลังโต้ตอบอยู่กับใครบางคน (ที่เรามองไม่เห็น) ซึ่งก็คือ ผู้ป่วยกำลังตอบโต้อยู่กับอาการหูแว่วของเขา
อาการเห็นภาพหลอน ก็คล้ายๆ กับอาการหูแว่ว คือเป็นการมองเห็นภาพขึ้นมาเองของผู้ป่วย โดยที่ไม่มีภาพหรือเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นจริง ถ้าท่านได้ดูภาพยนตร์เรื่อง Beautiful Mind ภาพยนตร์ที่สร้างจากประวัติของศาสตรา จารย์จอห์น แนช แห่งมหาวิทยาลัยปริ๊นซ์ตัน เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ผู้ชายใส่ชุดดำที่คอยติดตามสั่ง หรือพูดกับ จอห์น แนช อยู่ตลอดเวลานั่นแหละคือ ภาพหลอน ที่เกิดขึ้นกับเขา (ศาสตราจารย์ จอห์น แนช ป่วยเป็นโรคจิตเภท ซึ่งเป็นโรคจิตที่มีอาการรุนแรงและเรื้อรังชนิดหนึ่ง และหนังสือ Beautiful Mind ก็มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยขายอยู่ในบ้านเรา)
อนึ่ง อาการผิดปกติของวิธีคิด การใช้เหตุผล และกระแสความคิดเหล่านี้ ผู้ที่ไม่มีความชำนาญในเรื่องโรคจิต มักจะมองความผิดปกติในเรื่องนี้ได้ค่อนข้างยาก หลักใหญ่ๆที่ใช้ตรวจสอบความผิดปกติของความคิดนี้จะดูที่การใช้เหตุผล การโต้ตอบในการสนทนา ความต่อเนื่องของกระแสความคิดว่ามีความเป็นเหตุเป็นผล มีความต่อเนื่องหรือไม่
ตัวอย่างเช่น เมื่อถามผู้ป่วยว่าทำไมพระอาทิตย์จึงขึ้นทางทิศตะวันออก ผู้ป่วยตอบว่าเป็นเพราะมีคนไปปิดทางขึ้นทางทิศตะวันตกไว้ พระอาทิตย์เลยต้องเปลี่ยนมาขึ้นทางทิศตะวันออก เป็นต้น
และที่สำคัญมากอีกอย่างของผู้ป่วยโรคจิตก็คือ การไม่ยอมรับว่าตัว เองป่วย หรือ ไม่ยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้น “ไม่เป็นความจริง” เขาจะเชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เรื่องราวทั้งหมดมันเป็นเรื่องจริง และความเชื่อตรงนี้แหละ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแปลกๆไป เมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาไม่ใช่เรื่องจริง นั่นแสดงว่าอาการผู้ป่วยกำลังเริ่มดีขึ้น

โรคจิตเกิดขึ้นได้อย่างไร?

จนถึงปัจจุบัน เรายังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่า โรคจิตชนิดต่างๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีเพียงคำอธิบายกว้างๆ ในการอธิบายสาเหตุไว้ว่า
  1. เกิดจากความกดดัน หรือความเครียดที่รุนแรงของชีวิต อย่างกรณีตัวอย่างหญิงสาวที่ถูกคนรักสลัดทิ้ง ก็อาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยแบบนี้ขึ้นได้
  2. เกิดจากความบกพร่องในการทำงานของระบบสมอง และพันธุ กรรม อย่างกรณีในข้อหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า คนที่อกหักทุกคนจะต้องลงเอยด้วยการป่วยเป็นโรคจิต อาจจะมีเสียอกเสียใจ มีซึมเศร้าบ้าง แต่ก็ไม่ถึงขั้นจะต้องเป็นโรคจิตไปทุกคน เว้นเสียแต่ว่าสมองหรือพันธุกรรมของผู้ป่วยมีแนว โน้มว่าจะป่วยเป็นโรคนี้อยู่แล้ว พอมาเจอกับความเครียดที่รุนแรงแบบนี้ ก็เลยเกิดอาการของโรคจิตขึ้นมา
  3. เกิดจากยา หรือสารเคมีที่ผู้ป่วยเสพเข้าไป ที่พบสุดฮิตในบ้านเราขณะนี้ก็คือ การเสพยาบ้า กัญชา สุรา ยาลดความอ้วน กาว และยาไอซ์ สารเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เกิดการติดแล้ว ยังทำให้ระบบการทำงานของสมองแปรปรวนไปจนทำให้เกิดอาการหลงผิด หูแว่ว และประสาทหลอน ซึ่งเป็นอาการของโรคจิตขึ้นมาได้ เราจะได้พบเห็นอยู่เนืองๆ ที่ผู้เสพยาบ้า แล้วเกิดอาการประสาทหลอน และก่อคดีสะเทือนขวัญขึ้นมา เมื่อสร่างจากยาแล้ว เขามักจะบอกว่าเขาเกิดความเชื่อขึ้นมาว่า มีคนจะฆ่าเขา ดังนั้นเพื่อป้องกันตัวเอง เขาจึงต้องฆ่าผู้อื่นก่อน
  4. โรคจิตมีกี่ชนิด?

    โรคจิตที่พบได้บ่อยมีอยู่ 4 ชนิด คือ
    1. โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นโรคจิตที่มีอาการรุนแรงที่สุด มีความเรื้อรัง และทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสื่อมของบุคลิกภาพ และความสามารถทั่วๆไปได้มากที่สุด ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มักจะต้องรับการรักษาตลอดไป อาการที่พบ จะพบได้ทั้ง อาการหลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน และความคิดที่ไม่เป็นระบบ
      คำว่า “Schizophrenia” หมายความว่า Split of mind ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “จิตเภท” หรือ จิตใจที่แตกแยกเป็นเสี่ยงๆ ซึ่งเป็นคำอธิบายถึงธรรมชาติของโรคนี้ได้ดีที่สุด
    2. โรคหลงผิด (Delusional Disorder) อาการที่พบในโรคนี้ก็คือการมีความหลงผิดๆในบางเรื่อง เช่น หลงผิดว่าถูกปองร้ายโดยใครบางคน แต่มักจะไม่พบความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย ในโรคนี้บางครั้ง เราจะดูลักษณะภาย นอกของผู้ป่วยไม่ออก เพราะทุกอย่างจะดูปกติดี แต่เมื่อได้ฟังความคิดในเรื่องที่ผู้ป่วยหลงผิดก็จะสามารถมองเห็นความผิดปกติได้ไม่ยาก
    3. โรคจิตที่เกิดจากยา และสารเสพติด มักจะได้ประวัติของการเสพยา หรือสารเสพติด
    4. โรคจิตที่เกิดจากความกดดัน หรือความเครียดของชีวิต มัก จะเกิดขึ้นหลังจากมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรงในชีวิตของผู้ป่วย

    แพทย์วินิจฉัยโรคจิตได้อย่างไร?

    แพทย์วินิจฉัยโรคจิตได้จาก ประวัติอาการของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ปัญหาในชีวิตและครอบครัว การกินยาใช้ยาต่างๆรวม ทั้งยาเสพติด การตรวจร่างกาย การตรวจต่างๆทางร่างกายเพื่อแยกโรคของร่างกายที่อาจก่ออาการทางจิต เช่น ตรวจเลือดวินิจฉัยโรคซิฟิลิส การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โรคเอดส์ หรือ โรคขาดสมดุลของเกลือแร่ และการตรวจภาพสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือ คลื่นแม่เหล็กเอมอาร์ไอ และที่สำคัญที่สุด คือ การตรวจต่างๆด้านจิตเวชโดยจิตแพทย์

    รักษาโรคจิตอย่างไร?

    แนวทางการรักษาโรคจิต ได้แก่
    1. การใช้ยารักษาอาการทางจิต ซึ่งมีอยู่หลายชนิด โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่า ควรจะใช้ยาชนิดใด และจะใช้เป็นเวลานานเท่าใด บางโรคอาจต้องใช้ยาตลอดไป บางโรคเมื่ออาการดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาลดยา และหยุดยาในที่สุดได้ การรักษาทางยาเป็นการรักษาที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง ดังนั้นการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    2. การทำจิตบำบัด โดยเฉพาะโรคจิตที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด และโรคจิตที่เกิดจากความเครียดของชีวิต เพราะอาการทางจิตเป็นเพียงผลของปัญหา การบำบัดทางจิตเพื่อขจัดต้นตอของปัญหาย่อมมีความจำเป็น แต่การทำจิตบำบัด จิตแพทย์จะให้การรักษาหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการทางจิตดีขึ้นแล้ว และมักจะให้การรักษาร่วมกับการใช้ยาเสมอ
    3. การทำครอบครัวบำบัด คือ การทำให้ญาติมีความเข้าใจกับปัญหา และความเจ็บป่วยของผู้ป่วยมากขึ้น ช่วยทำให้ญาติสามารถจัดการกับปัญหาของผู้ป่วยได้ดีขึ้น มีความรู้สึกเครียดกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยน้อยลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการรักษาผู้ป่วยในระยะยาว

    ญาติและครอบครัวสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยโรคจิตได้อย่างไร?

    ญาติและครอบครัวสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยโรคจิตได้โดย
    1. ในช่วงแรกๆ ผู้ป่วยมักจะปฏิเสธการรักษา ปฏิเสธการกินยา เพราะผู้ ป่วยไม่คิดว่าตนเองป่วย ญาติจึงจําเป็นต้องดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างสม่ํา เสมอ
    2. ยารักษาอาการทางจิตโดยส่วนใหญ่ มักก่อให้เกิดอาการข้างเคียง คือ อาการตัวแข็ง ลิ้นแข็ง น้ําลายไหล และมักเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยไม่อยากกิน ยาต่อไปอีก การบอกเล่าอาการให้แพทย์ทราบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะช่วยทําให้ผู้ป่วยร่วมมือในการรักษามากขึ้น
    3. โรคจิตบางชนิดมีอาการเรื้อรัง ต้องใช้เวลารักษานาน หรืออาจจะ ตลอดชีวิต การให้กําลังใจ การให้คําแนะนําในเรื่องการรักษาตัวเอง หรือแม้แต่ ในเรื่องทั่วๆไป จะช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย เกิดกําลังใจที่จะต่อสู้กับความเจ็บ ป่วยต่อไป
    4. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และสม่ําเสมอจะมีความสามารถ ในการทํางานได้ตามปกติ ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ทําหน้าที่ของตนเองต่อไป

    ใครบ้างมีโอกาสเป็นโรคจิต?

    เนื่องจากเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคจิต จึงบอกได้ ยากว่าใครคือคนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีบางเรื่อง บางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการทางจิต เช่น ความเครียดอย่างรุนแรง การใช้ยาหรือสารเสพติด สุรา ยาไอซ์ ฯลฯ
    ดังนั้นหากจะสรุปว่าใครบ้างที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคจิตได้ คําตอบก็คือ
    1. คนที่ใช้ยาเสพติด
    2. คนที่มีความเครียด และความกดดันในชีวิตอยู่ตลอดเวลา

    ป้องกันโรคจิตได้อย่างไร?

    การป้องกันโรคจิต ได้แก่
    1. หลีกเลี่ยงยา หรือสารเสพติด
    2. ออกกําลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
    3. เรียนรู้วิธีผ่อนคลาย วิธีลดความเครียด และนํามาใช้ เมื่อเกิดความ เครียด

    สรุป

    โรคจิต ก็คือ ความเจ็บป่วยที่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ไม่ต่างจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) หากผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย และคนทั่วไปเข้าใจ และให้โอกาสผู้ป่วย การช่วย ผู้ป่วยให้พ้นทุกข์ และกลับมาใช้ชีวิตได้เช่นเดิม ก็ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นแต่อย่างใด

สาเหตุของโรคทางจิตเตช


โรคทางจิตเวชเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อมีผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนไม่ควรโทษพ่อแม่ การเลี้ยงดู โทษภูตผีปีศาจ หรือโทษตัวผู้ป่วย การเกิดโรคทางจิตเวชอาจจากองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งหรือรวมกันทั้งหมด ดังต่อไปนี้ 
1. ความผิดปกติทางสภาพร่างกาย เพระ 
 การได้รับสารพิษต่างๆ เช่น สุรา ยากระตุ้นประสาท ยาบ้า กัญชา กระท่อมหรือยานอนหลับ 
 การติดเชื้อ เช่น เชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง ไข้เยื่อสมองอักเสบ เชื้อซิฟิลิสขึ้นสมองหรือพยาธิตัวตืด หรือจากพิษไข้ เช่น ไทฟอยด์ 
 อันตรายที่ศีรษะ เช่น ถูกตีศีรษะ รถคว่ำ หรืออุบัติเหตุต่างๆ ทางศีรษะ 
 เนื้อสมองเปลี่ยนแปลง เช่น หลอดเลือดในสมองแข็ง เนื้องอกในสมองหรือสมองเสื่อม 
 กรรมพันธุ์ ซึ่งแต่ละโรคสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้มากน้อยแตกต่างกัน
2. ความผิดปกติของจิตใจ เพราะ 
 ได้รับความผิดหวัง ความเสียใจ ความกดดันทางจิตใจจากสิ่งแวดล้อม 
 ขาดความรักความอบอุ่นมาตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้เป็นคนคิดมาก มีปมด้อย ขาดประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง มีบุคลิกภาพที่ผิดปกติ เช่น เก็บตัว แยกตัว ไม่สุงสิงกับใคร ชอบอยู่คนเดียวและหวาดระแวง
3. สภาพสังคม เช่น ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกบีบคั้นทางสังคม อยู่ในที่สังคมแออัด มีฐานะยากจน ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องค้นหาโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด

ไม่ใช่เรื่องน่าอายที่ต้องพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ทายนิสัยจากเพลงที่ชอบ


ทายนิสัยจากเพลงที่ชอบ


คุณชอบเพลงฮิต ตามกระแสนิยม

 คุณสนุกสนาน ร่าเริง ชอบเด่นดัง และเรียกร้องความสนใจ ทำตัวตามสมัยนิยม

คุณชอบเพลงดังในอดีต

คุณชอบจดจำอดีต หัวโบราณ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความคิดง่ายๆ ยึดติดกับอดีต

คุณชอบเพลงที่คนร้องเสียชีวิตไปแล้ว

คุณวิตกจริต คิดมาก หงุดหงิด จดจำแต่อดีตที่ผ่านมาไม่ยอมลืม อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย

คุณชอบเพลงรักหวานซึ้ง

คุณเป็นคนโรแมนติก เพ้อฝัน มองโลกทุกอย่างสดใสเกินความเป็นจริง

คุณชอบเพลงลูกทุ่ง

คุณเป็นคนที่มีน้ำใจ ใจเย็น จิตใจหนักแน่น ชอบช่วยเหลือคนอื่น และ รับฟังความคิดของคนอื่นเป็นที่ปรึกษา

คุณชอบเพลงประเภทพั้งค์

คุณมั่นใจในตัวเองมากที่สุด ทำอะไรตามใจ ไม่แคร์ใคร

คุณชอบเพลงร็อคแอนด์โรล

คุณมีความคล่องตัว ไม่อยู่นิ่ง หาอะไรทำตลอดเวลา ชอบแสดงออก

คุณชอบเพลงปลุกใจหรือเพลงมาร์ช

คุณเป็นคนรักจริง จริงใจ กล้าแสดงออก มีความคิดที่มีระเบียบแบบแผนและเชื่อมั่นในตัวเอง

คุณชอบเพลงเฉพาะที่ตัวเองชอบผสมท่วงทำนองต่างๆ

คุณรักอิสระ มีความคิดเป็นของตัวเอง มีการวางเป้าหมาย และแผนการในชีวิต มีความเชื่อมั่นตัวเองสูง

คุณชอบเพลงเพื่อชีวิต

คุณคิดล้ำหน้ากว่าคนอื่น และความคิดก้าวหน้าจนใครตามไม่ทัน มองโลกในมุมมองที่ต่างจากคนทั่วๆ ไป