Blogger นี้มีไว้ใช้สำหรับการเรียนวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อาการป่วยทางจิต: Eating Disorders

Eating Disorders คืออาการผิดปกติทางการกิน ที่มีให้เห็นบ่อยที่สุดคือAnorexia nervosa(ความไม่อยากอาหารและอดอาหาร)กับBulimia nervosa(อยากอาหารมากผิดปกติและล้วงคออาเจียน) เป็นโรคที่ถูกสังคมปักใจเชื่อว่ามีแรงกระตุ้น/แรงโน้มนาวมาจากกระแสนิยมทางสื่อmedia เช่น พวกนางแบบแฟชั่น ฯลฯ อีกทั้งยังถูกมองว่าEating Disordersเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับ"น้ำหนัก"ล้วนๆ
แต่... มันไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นแบบนั้นหรอกค่ะ หัวใจของโรคนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องนั้นด้วยซ้ำ 
จขบ.ได้ยินเกี่ยวกับโรคนี้เป็นครั้งแรกเพราะคนเคยพูดถึงAnorexicในการสนทนาแบบขำๆเป็นกันเอง("Oh my God, she's so skinny! Anorexic!") ตอนนั้นไม่เคยคิดจะใส่ใจเพราะความ"กลัวอ้วน"และ"diet"ออกจะเป็นเรื่องไม่สำคัญในความเห็นของจขบ.เท่าไร
ต่อมาก็ได้สนใจเกี่ยวกับโรคนี้อีกทีตอนที่การ์เดี้ยนบอกว่าเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับคนที่เป็นEating Disorders
นอกจากนั้นจขบ.ก็มารู้ว่านร.คนหนึ่งที่รร.เคยเป็นAnorexicจนกระทั่งต้องย้ายไปรักษาอยู่ออสเตรเลียปี-สองปี ก่อนจะกลับมาเรียนที่โรงเรียนเดิมได้ แถมยังได้รู้ว่ามีนร.คนอื่นไม่กี่คนก็เป็นAnorexicและออกจากรร.ไปเหมือนกัน
แล้วหลังจากนั้นจขบ.ก็มีเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นโรคนี้
สรุป... Eating Disordersอยู่ใกล้ตัวและแพร่หลายมากกว่าที่หลายคนคิดค่ะ
เกือบ 11 ล้านคนในโลกทุกข์ทรมานจากAnorexiaและBulimia และอีกหลายล้านที่ทรมานจากBinge Eating Disorder(รับประทานอาหารปริมาณมากผิดปกติโดยที่ควบคุมไม่ได้)
หลายคนคิดว่าโรคนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิงเท่านั้น แต่จริงๆแล้วEating Disordersเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ(ส่วนใหญ่เป็นหญิง) ทุกวัย(ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น) ทุกเชื้อชาติ และทุกฐานะ

เริ่มแรก ปัญหาของEating Disordersไม่ใช่น้ำหนัก...
โรคAnorexic nervosa--หรือบางทีแปลว่า"โรคกลัวอ้วน/โรคคลั่งผอม" ผู้ป่วยจะกังวลว่าวันนี้น้ำหนักเท่าไร กินไปแล้วกี่แคลอรี่ และจะออกกำลังกายติดต่อกันนานเพื่อลดน้ำหนักให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บางทีใช้ยาถ่ายเป็นเครื่องช่วยเพื่อที่ร่างกายจะได้ไม่ต้องซึบซับอาหาร
แต่แค่ความรู้สึกที่ว่า"อยากผอม"จะทำให้Anorexia nervosaกลายเป็นโรคป่วยทางจิตที่มีอัตราการตายสูงที่สุดหรือ? ทำไมแค่"อยากลดความอ้วน"จะต้องทำให้คนเราผลักดันตัวเองจนเป็นAnorexia nervosaขั้นรุนแรง ทำให้ร่างกายอ่อนแอถึงขั้นหัวใจวายตาย ฟันผุ ผมร่วง โลหิตจาง และอดอาหารจนตายด้วยล่ะ? (ในกรณีของBulimiaก็ตายได้ถ้าอาเจียนผิดวิธีแค่ครั้งเดียว หรือกินมากๆจนกระเพาะแตกตาย)
เหตุผลก็คือ... รากเหง้าของปัญหาที่ผู้ป่วยEDนั้น เกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองอย่างต่อเนื่อง ความมั่นใจตัวเองที่ต่ำถึงขีดสุด และการแสวงหาความสมบูรณ์แบบ
ผู้ป่วยEDหลายคนเคยถูกทารุณกรรม(ทางเพศ/ทางจิตใจ/ทางร่ายกาย) ถูกแกล้ง/ล้อที่รร. พวกเขามักจะรู้สึกว่าตัวเองขาดความรัก
เพราะฉะนั้นผู้ป่วยEDมีปัญหาอื่นๆที่ลึกกว่าแค่ความรู้สึกที่ว่า"อยากสวยและอยากผอม"ค่ะ
มันมีความแตกต่างระหว่าง"คนที่ใช้วิธีลดน้ำหนักแบบEDเพื่อที่จะดูดีชั่วครั้งชั่วคราว"กับ"ผู้ป่วยED"ค่ะ
สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคED "การกิน"เป็น"วิธีการปรับตัว(coping mechanism)"ในชีวิตประจำวันของพวกเขาค่ะ

ผู้ป่วยEating Disordersไม่ใช่คนโง่...
"ตัวเองน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานแค่นี้ไม่รู้รึไง" 
"พ่อแม่ก็รวยทำเป็นเด็กอดอยากไปได้"
"เรียนก็ได้คะแนนท็อป ดันตามกระแสนิยมอยากจะผอมเวอร์ๆซะงั้น" 
น่าเศร้าที่สังคมพูดเสียๆหายๆกับผู้ป่วยโรคนี้อย่างมากมาย แต่ก็คงจะชวนให้คิดอยู่ว่าผู้ป่วยโรคนี้โง่อยู่หรอก เพราะผู้ป่วยบางคนก็ถึงขั้นปฏิเสธน้ำเพราะรู้สึก"อ้วน"เวลาดื่มน้ำ (ทั้งที่น้ำเปล่าก็รู้ๆกันอยู่ว่าไม่มีแคลอรี่น่ะนะ) หรือบางทีไม่กล้าเข้าใกล้อาหาร เพราะกลัวไขมันซึมผ่านผิวหนัง
ก็Eating Disordersเป็นอาการป่วยทางจิตนี่ค๊า... มันคือศึกระหว่างความคิดที่ว่าอะไรที่มีเหตุผลกับไม่มีนี่นา
แต่สังคมก็ตัดสินว่าผู้ป่วยEDเป็นคนโง่โดยที่ไม่รู้จักEDเลย
ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กเรียนดี (เกรด A ล้วน/เกรด 4 ล้วน/คะแนน 85% อัพ เป็นต้น) เป็นพวกที่มีแรงกระตุ้นมหาศาล ทำงานหนักและทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้ตัวเองเพอร์เฟ็ค แต่บังเอิญว่าแนวคิดแบบนี้กลับย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง เมื่อตอนหันไปมองในกระจกแล้วเริ่มรู้สึกว่าอยากจะลอง"ลดน้ำหนักสักหน่อย" เพราะฉะนั้นโรคนี้มักจะเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัวค่ะ

Eating Disordersกลายเป็นmindset...
แน่นอนว่าอัตราการตายของคนที่ป่วยเป็นโรคEDคงไม่สูงมากมาย ถ้าพวกเขาสามารถทำตามคำขอร้องที่ว่า "กินเถอะ" ของใครสักคนที่แคร์ได้อย่างง่ายๆ
หากแต่... ความจริงก็คือEating Disordersควบคุมจิตใจและชีวิตของผู้ป่วยมาก จนพวกเขาไม่สามารถกินอาหารได้โดยปราศจากความรู้สึกไม่สบายใจอย่างร้ายกาจ (บางครั้งผู้ป่วยจะยอมกินต่อหน้าครอบครัวที่พยายามเว้าวอน และออกไป"เข้าห้องน้ำ(ล้วงคอ)"ทีหลัง หรือกินยาถ่าย หรือออกกำลังกายทดแทน)
และก็อย่างที่บอกว่าพวกเขาไม่ได้โง่... สามารถสรรหาวิธีไม่รู้จบที่จะแกล้งว่ากินอาหารปกติดี บางทีขอตัวออกไป"กินข้าวบ้านเพื่อน"(แต่ไปออกกำลังกายแทน) หรือแม้แต่หยิบจานอาหารมาใส่อะไรแล้วค่อยแอบเอาไปทิ้งทีหลัง(พอให้จานสกปรก เพื่อไม่ให้พ่อแม่กังวล) หรือถ้าถูกคุมตัวอยู่ที่รพ. บางคนก็พยายามหลอกหมอว่าประจำเดือนกลับมาเป็นปกติโดยการทำร้ายตัวเองให้เลือดออก (ประจำเดือนจะหยุดมาเนื่องจากการอดอาหารค่ะ) แพทย์จึงต้องตรวจเช็คดูดีๆว่าคนไข้ไม่ได้แกล้งทำเป็นว่าตัวเองฟื้นคืนจากภาวะขาดอาหารแล้ว
ส่วนวิธีที่จะอดอาหารก็มีมากไม่แพ้กัน จขบ.เคยได้ยินมาว่าบางคนเอาริบบิ้นมาพันรอบท้องเอาไว้ เพื่อที่จะได้ไม่กินให้ท้องใหญ่ไปมากกว่ากำหนด หรือเข้าห้องน้ำไปวัดสัดส่วนตัวเองเป็นระยะๆเพื่อดูว่าตัวเองไม่ได้อ้วนขึ้น(เช่น เอามือทั้งสองโอบรอบต้นขาเพื่อดูว่านิ้วโป้งแตะกันเท่าเดิม) เขียนลิสต์ว่าวันนี้/อาทิตย์นี้จะกินมากแค่ไหน+อะไรบ้าง ฯลฯ
EDจึงเป็น"วิธีปรับตัว" โรคนี้บังคับให้คนๆหนึ่งคิดถึงเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักมากมาย จนไม่จำเป็นต้องหมกมุ่นเกี่ยวกับปัญหาอื่น อีกทั้งยังช่วยทำให้พวกเขารู้สึกประสบความสำเร็จเมื่อน้ำหนักลดลง
ระบบลดน้ำหนักที่มีอยู่ทุกวันเป็นส่วนทำให้พวกเขารู้สึก"in control" ยับยั้งตัวเองได้ และมีที่ยึดเหนี่ยว
ฉะนั้นเรื่องการรักษาEDให้หาย ก็หมายถึงเปลี่ยนmindsetทั้งดุ้น เช่น เปลี่ยนทัศนคติ(แง่ลบที่มีตัวเอง) เปลี่ยนความคิด(ที่ตัวเองไม่ดีพอและไม่มีใครรัก) เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต(วันนี้กินกี่แคลอรี่ เผาผลาญไปประมาณเท่าไร และออกกำลังกายไปนานแค่ไหน)
บางคนรักษาหายแล้วกลับมาเป็นใหม่
บางคนรักษาหายโดยไม่มีวันกลับมาเป็นอีก
และบางคนไม่เคยหายชั่วชีวิตค่ะ (ในกรณีหลังก็ใช่ว่าอยู่รอดจนอายุเกินสามสิบถ้าหากเป็นขั้นรุนแรง)


แต่จขบ.เชื่อว่าถ้าผู้ป่วยEating Disordersได้รับการใส่ใจเต็มที่และมีความหวังอยู่ ก็คงจะหายจากโรคนี้ได้อย่างแน่นอน เพราะงั้นขอร้องให้ใครก็ตามที่อ่านบล็อกมาถึงตรงนี้ ตระหนักถึงการมีอยู่ของโรคนี้และพยายามเข้าใจด้วยเถอะค่ะ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น